โครงสร้างองค์กร
  โครงสร้างส่วนราชการ
  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการดำเนินงาน
  รายงานติดตามและประเมินผล
  เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
  เทศบัญญัติทั่วไป
  การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
  รายงานจัดซื้อจัดจ้าง
  รายงานงบการเงิน

ศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทเขิน

1. การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทเขิน
ชาวไทเขิน หรือ ไทขึน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่งในตระกูลไทลื้อที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า จีน ไทย และประเทศลาว ตั้งชุมชนหนาแนนที่บริเวณลุมแม่น้ำขึนเมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์  ชาวไทเขินที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจากาวิละ เป็นช่างฝีมือที่อยู่ด้านทิศใต้ของกำแพงเมืองเชียงใหม่ บริเวณบานชางหลอ บานวัวลาย หมื่นสาร บานนันทาราม ชุมชนระแกง ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือเครื่องรักเครื่องหาง ซึ่งภายหลังเรียกชื่อเฉพาะวาเครื่องเขิน นอกจากนี้ยังกระจายตัวอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง สันกำแพง แม่แตง ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงรายในเขตอำเภอแม่สาย และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ดังนั้นในด้านวัฒนธรรม ชาวไทเขินมีความคล้ายคลึงกับาวล้านนามากที่สุด คือมีขนบ ประเพณี ภาษา และตัวอักษรอย่างเดียวกับชาวไทยล้านนา แต่ก็จะมีข้อแตกต่างกันในด้านของสำเนียงภาษา รูปแบบอักษร และพิธีกรรมทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามชาวไทเขินแม้ว่าจะถูกปกครองโดยคนในชนชาติอื่น คือ พม่า ที่ปกครองมานาน แต่ชาวไทขึนก็ไม่ละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะอักษรประจาติที่ชาวไทขึนยึดรูปแบบเดิมมากที่สุด
 
ศาสนาและความเชื่อ
                 ชาวไทเขินนับถือพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต และการจัดการระบบนิเวศน์ ด้วยการนับถือธรรมชาติ บูชาผีบรรพบุรุษโดยมีศาลปู่ตา ใจบ้าน เสื้อบ้านเป็นศูนย์รวมจิตใจ

การแต่งกาย
ผู้ชาย สวมเสื้อผ้าฝ้ายทอมือแขนสามส่วน คอกลม ผ่าหน้า ติดกระดุม นิยมสวมเสื้อทับข้างนอก ส่วนเสื้อข้างในมักจะเป็นเสื้อยืดหรือเสื้อสีขาวมีปก นิยมผ้าโพกหัวใช้สีครีมหรือสีขาว และมัดเอวด้วยผ้าสีอ่อน สวมกางเกงสะดอใช้ได้ทุกสี
ผู้หญิง สวมเสื้อที่มีลักษณะเดียวกับเสื้อปั๊ด ไม่มีปก เสื้อมีตัวสั้น ชายเสื้อตรงเอวจะงอนขึ้นหรือกางออกเล็กน้อย ใช้ผ้าสีชมพูหรือสีอ่อนโพกหัว และผ้าซิ่น ส่วนบนเป็นลายริ้วหรือที่เรียกกันว่า “ซิ่นก่าน” ส่วนตีนจะต่อด้วยผ้าสีเขียวเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทเขิน
ภาษา
ชาวไทเขินมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง เรียกว่าภาษาเขินหรือ ภาษาขึน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาลื้อและภาษายอง ภาษาเขินเป็นภาษาในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ในกลุ่มภาษาคำ-ไท ตระกูลภาษาไท-กะได ชาวเขินใช้อักษรชนิดเดียวกันกับชาวไทยวน แต่การเขียนจะคล้ายคลึงไปทางพม่าและภาษาไทใหญ่มากกว่า กล่าวคือ ตัวอักษรจะกลม หางสั้น และมีหยักน้อยกว่าอักษรล้านนา ภาษาพูดไทเขินจะมีระดับเสียงที่สูงกว่า ถือเป็นลักษณะเฉพาะของภาษาเขิน ภาษาไทเขินในแต่ละพื้นที่ก็จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย
อาหาร
ชาวไทเขินรับประทานข้าวเหนียวเช่นเดียวกับชาวไทยวนและไทลื้อ อาหารที่ขึ้นชื่อของชาวไทเขิน คือ ข้าวซอยหน้อย หรือ ข้าวซอยอ่อน เป็นอาหารประจำถิ่นของชาวไทเขิน และชาวไทใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาหารอย่างอื่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทเขิน เช่น แกงผักแว่น ไส้อั่ว(ไส้ล้องพิก) พริกข่า ข้าวต้มหัวหงอก การประกอบอาหารของชาวไทเขินยังคงนิยมทำกันเกือบทุกครัวเรือน
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทเขินมีความคล้ายคลึงกับชาวล้านนาในการจัดพิธีสืบชะตาหรือต่ออายุหมู่บ้านเพื่อเป็นพลังให้แก่กลุ่มชน ส่วนศิลปะการแสดงที่นิยมเล่นกันตามงานประเพณี เช่น การฟ้อนรำหางนกยูง ฟ้อนฆ้องเชิง ฟ้อนรำนก ฟ้อนรำดาบ ฟ้อนโต ซึ่งการฟ้อนโตเป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมร่วมของชาวไทใหญ่และชาวไทเขิน
เครือข่าย
เครือข่ายชาวไทเขินในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียงในการผลิตเครื่องเขิน เครื่องเงิน ที่บ้านวัวลาย ศรีสุพรรณ เครือข่ายในอำเภอสันป่าตอง เช่น บ้านดงกํ๋า            บ้านป่าสัก บ้านต้นแหนหน้อย บ้านต้นแหนหลวง   บ้านต้นกอก บ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด
 
เทศบาลตำบลบ้านกลาง ร่วมกับอำเภอสันป่าตอง บ้านต้นแหนหลวง จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทเขิน เพื่อแสดง ประเพณีวัฒนธรรมของคนไทเขินบ้านต้นแหนหลวงให้เด็ก เยาวชน ประชาชน และทราบและร่วมกันศึกษาเรียนรู้ต่อไป  จุดที่ตั้ง ณ หมู่บ้านต้นแหนหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่