โครงสร้างองค์กร
  โครงสร้างส่วนราชการ
  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการดำเนินงาน
  รายงานติดตามและประเมินผล
  เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
  เทศบัญญัติทั่วไป
  การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานจัดซื้อจัดจ้าง
  รายงานงบการเงิน

วัดพระเจ้าทองทิพย์

ประวัติวัดพระเจ้าทองทิพย์

วัดพระเจ้าทองทิพย์เดิมเรียกว่า "วัดกู่ขาว" เป็นวัดร้างอยู่ทางทิศเหนือของเวียงท่ากาน ปัจจุบันตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๖ ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของ อ.สันป่าตอง มีการเล่าขานกันต่อๆ มาว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๑๑๐ มีพระประธานศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่งชื่อว่าพระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐานอยู่ในโขงในวิหารต่อมากลายเป็นวัดร้างเหลือเพียงซากปรักหักพังของวิหารเท่านั้นส่วนพระประธานพระเจ้าทองทิพย์ก็ได้สูญหายไป ช่วงนั้นอยู่ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งแรก (พ.ศ. ๒๑๑๒) ประวัติช่วงต่อจากนั้นมาไม่มีใครทราบว่าเป็นวัดร้างมานานเท่าไรต่อมามีผู้สูงอายุคนหนึ่งในหมู่บ้านเล่าว่า เมื่ออายุ ๑๗ ปี (พ.ศ. ๒๕๐๗)ได้ไปช่วยลอกลำเหมืองที่บ้านท้องฝ่าย(อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระเจ้าทองทิพย์) หลังจากพักกินข้าวกลางวันเรียบร้อยแล้วได้เข้าไปคุยกับผู้เฒ่าคนหนึ่งซึ่งนักจักตอกอยู่ ท่านถามว่าอยู่บ้านไหนและถามถึงพระเจ้าทองทิพย์ว่ายังอยู่หรือไม่ จึงบอกว่าพระเจ้าทองทิพย์นั้นหายไปแล้ว ท่านจึงเล่าให้ฟังว่า"สมัยที่ท่านยังเป็นเด็กได้ไปดูขบวนแห่พระพุทธรูปที่มาจากเวียงเชียงใหม่โดยใช้คนหามและเดินตามกันมาเป็นขบวน มองเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่สององค์ที่มีลักษณะเหมือนกัน องค์เล็กอีกสององค์เป็นพระสาวกซ้าย-ขวาไม่รู้ว่าจะเอาไปที่ไหนผ่านมาถึงทุ่งฟ้าบด"บริเวณตลาดนัดทุ่งฟ้าบด อ.สันป่าตอง ในปัจจุบัน เกิดปาฏิหาริย์ท้องฟ้ามืดครึ้ม ฝนตกลงมาอย่างหนักจนขบวนแห่ต้องหยุด ท้องแจ่มใสจึงเดินทางต่อ พ่อน้อยอินทร์ ดวงคำอ้าย อยู่บ้านเลขที่ ๗๔ หมู่ ๖ ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบัน (๒๕๕๕) อายุ ๖๕ ปีแต่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่งไม่สามารถยกเคลื่อนที่ไปได้จึงอาราธนาไปไว้ที่วัดหนองสามขาที่อยู่ใกล้ ๆ ต่อมาเป็นวัดร้างจึงมีผู้นำมาไว้

ที่วัดร้องธาร ชาวบ้านเรียกว่าพระเพชรหรือหลวงพ่อเพชรแล้วแห่พระพุทธรูป๓ องค์ เดินทางต่อไป ผ่านมาถึงใกล้ ๆ วัดกู่ขาว (วัดพระเจ้าทองทิพย์ในปัจจุบัน)แล้วก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ฉู่ ๆ ก็มีแสงสว่างเจิดจ่าพุ่งขึ้นบนท้องฟ้าใกล้ ๆ กับวัดกู่ขาว และไม่สามารถเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปทั้ง ๓ เดินทางต่อไปไม่ได้ จึงอาราธนามาไว้ที่วัดกู่ขาวแล้วเดินทางกลับเวียงเชียงใหม่ต่อมาวัดกู่ขาวเป็นวัดร้างได้มีผู้นำพระสาวกซ้าย - ขวาไปเก็บไว้ในวัดแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ได้สูญหายไป บางคนบอกว่าถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ถ้าพิจารณาตามกาลเวลาแล้วน่าจะเป็นคนละองค์กับองค์แรก'มีคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อแม่ อุ้ย (ยาย) ของท่านยังเป็นเด็กได้ไล่ควายไปเลี้ยงใกล้ ๆ บ้าน ตอนนั้นยังเป็นปารกชัฏเห็นผู้ชายกลุ่มหนึ่งช่วยกันหามพระพุทธรูปมาจากทางทิศตะวันตก ทางวัดกู่ขาวและวัดป่าเหมือด ผ่านบ้านแพะขัวตาดมุ่งไปทางลำน้ำปิง ด้วยความกลัวจึงซ่อนตัวแอบอยู่ในพุ่มไม้ไม่กล้าตามออกไปดูแต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธรูปมาจากที่ใดและจะนำไปไว้ที่ไหน ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้มีครูบาตุ้ย ปญโญ จากวัดมะขุนหวาน มาพบเห็นวัดร้างแห่งนี้เกิดความศรัทธาจึงได้ชักชวนญาติโยมจากบ้านทุ่งเสี้ยว บ้านท่กาน บ้านสันห่าว มาช่วยกันแผ้วถางบูรณะซ่อมแชมวิหาร พอที่จะเข้าไปปฏิบัติศาสนกิจได้และท่านได้อยู่จำพรรษาพ่ออุ่น พรมอ่อนที่วัดแห่งนี้ประมาณ ๑๑ พรรษา และถึงแก่มรณภาพไปราวปี พ.ศ. ๒๔๒๖เนื่องจากท่านครูบาตุ้ยไม่มีลูกศิษย์สืบต่อมา วัดกู่ขาวจึงกลายเป็นวัดร้างอีกครั้งต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๔๓๔ (สมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระอินถาโปธิโกจากวัดสันห่าวมาจำพรรษาต่อในวัดนี้ ท่านได้สร้างกุฏิสงฆ์แบบชั้นเดียวขึ้นหลังหนึ่งสร้างศาลาบาตรหลังคามุงด้วยใบตองตึงอีกหนึ่งหลังพอที่ศรัทธาจะเข้าไปนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมทำบุญได้ ท่านจำพรรษาอยู่หลายพรรษาและลาสิกขาบทไปต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทางคณะศรัทธาได้ไปนิมนต์พระบุญมา ปาระมี จากวัดข่วงมื่นมาจำพรรษา ท่านได้รื้อกุฏิสงฆ์หลังเก่าและสร้างกุฏิหลังใหม่ขึ้นหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ ท่านจำพรรษาได้ ๒0 พรรษาจึงลาสิกขาบทไปปี พ.ศ. ๒๔๙๔ (สมัยรัชกาลที่ ๙) คณะศรัทธาได้ไปนิมนต์พระคำมูลโชติปญฺโญ วัดจักรคำภิมุข จังหวัดลำพูน มาจำพรรษาต่อ อยู่ได้เพียง ๒ เดือนท่านก็กลับไปอยู่วัดเดิมขณะนั้นทางวัดมีสามเณรสิงห์ ธรรมมา จำพรรษาอยู่เพียงองค์เดียว พ่อหลวงก๋อง ดวงดี ประชุมศรัทธาให้เปลี่ยนกันมานอนฝ้าวัดเพื่อเป็นเพื่อนสามเณรทุกคืน ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ สามเณรสิงห์อุปสมบทเป็นพระสิงห์ ปญญาธโร และรักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส              มีพระก๋องคำ คนธวโร เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ท่านได้สร้างศาลาบาตรขยายพื้นที่วัดให้กว้างออกไปและยังเป็นครูช่วยสอนหนังสือที่โรงเรียนวัดพระเจ้าทองทิพย์อีกด้วยพ.ศ.๒๕๐๘ ท่านได้ลาสิกขาบทไปพระก๋องคำ คนธวโร รักษาการเจ้าอาวาสต่อมาและได้รับการแต่ตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ และได้เปลี่ยนหลังคาวิหารใหม่ พร้อมทั้งรื้อกุฏิสงฆ์หลังเก่าออก และปลูกสร้างหลังใหม่แทนปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระอธิการดิเรก สนฺติกโร แห่งวัดปิยาราม (วัดป่าแงะอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่) ร่วมกับนายสมพงษ์ สมศิริวาสน์ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่โรงแรมรถไฟในขณะนั้น พร้อมทั้งผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างพระเจ้าทองทิพย์จำลององค์แรกขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในวิหาร โดยทำพิธีเททองและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทำพิธีพุทธาภิเศก ที่วัดปิยารามเมื่อวันที่๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ในงานนี้มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์ จำนวน๕ องค์ ผู้ที่เข้าบวชก็มี หลวงพ่อตา สีละธโร (อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าทองทิพย์)พ่อหนานสุนทร อุปธรรม หนานวัน แสนใบ หนานสม เดไชยวงศ์ และศรัทธาจากอ.แม่ริม อีกหนึ่งท่านวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้แต่งขบวนนำพระเจ้าทองทิพย์

จากวัดปิยาราม อ.แม่ริม มาประดิษฐาน ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์ ต.บ้านกลางอ.สันป่าตอง ก่อนที่จะอัญเชิญขึ้นสู่แท่นแก้ว มีคณะศรัทธาที่ร่วมขบวนมาด้วยได้ถอดของมีค่า เช่น สร้อยคอทองคำ แหวน สร้อยข้อมือ เพชรพลอยต่าง ๆ ที่ดินเองสวมใส่มาร่วมบรรจุไว้ในองค์พระด้วย แล้วจึงอัญเชิญขึ้นสู่แท่นแก้วในโขงของวิหารต่อไป ในสมัยนั้นมีพระก๋องคำ คนธวโร เป็นเจ้าอาวาส นายอุทัยอินต๊ะแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้าน นายอ้าย จันทร์ติ๊บ นายถา วิชัยชมภู เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านต่อมาไม่ถึงปีพระพุทธรูปองค์นี้ก็ถูกโจรกรรมไปพ.ศ. ๒๕๑๖ นายทวี ชัยอนันต์ เจ้าของร้านสุโข ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่ ได้มาเททองหล่อพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์แทนองค์เก่าที่ถูกโจรกรรมไป และอัญเชิญขึ้นสู่แท่นแก้วเป็นพระประธานในวิหารจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาพระก๋องคำ คนธวโร ได้ถึงแก่มรณภาพไปในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หลวงพ่อตา สีละธโร เป็นเจ้าอาวาสและถึงแก่มรณะไปในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ พระวสันต์ ปญญจวโร เป็นเจ้าอาวาสท่านได้ร่วมกับ

คณะศรัทธาสร้างกุฏิสงฆ์แบบล้านนาประยุกต์หนึ่งหลังและว่างศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญหลังใหม่เพื่อดำเนินงานก่อสร้างต่อไป โดยมีพลเอกอาทิตย์ กำลังเอกมาเป็นประธานจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ลาสิกขาบทออกไป๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พระอธิการวัลลภ ปญญาวุฒิโธ เป็นเจ้าอาวาสร่วมกับคณะศรัทธาช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่จนเสร็จ และทำบุญฉลองไปเมื่อวันที่ ๔ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่านคิดจะสร้างวิหารหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมแต่ทางกรมศาสนาไม่อนุญาตจึงระงับไป จนกระทั่งท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ทางคณะศรัทธาได้ไปนิมนต์หลวงพ่อบุญมา จนุทธมโม

จากวัดท่ากาน ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่มาจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระอธิการบุญมาร่วมกับคณะศรัทธาสร้างศาลาเอนกประสงค์ขึ้นหลังหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีพ่อหนานสุนทร อุปธรรม จากบ้านโรงวัว ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง พร้อมคณะศรัทธาร่วมกันสร้างพระธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่งด้านหลังวิหารแล้วเสร็จในคราวเดียวกัน และทำบุญฉลองพร้อมกันเมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาเนื่องจากวิหารหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาไม่สะดวกต่อการประกอบศาสนกิจ ทางวัดและศรัทธาชาวบ้านจึงร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยทำพิธีสูตรถอนไปเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗) วัดพระเจ้าทองทิพย์มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่ ๓ รูป คือ

 ๑.พระอธิการบุญมา  จันทธมฺโม เจ้าอาวาส

๒.พระมานพ สิทธิธโร

3.พระมงคล เมธาวังโส

รายนามเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าทองทิพย์

๑.คูรบาตุ้ย ปญโญ  พ.ศ. ๒๔๑๕

๒.พระอินถา โปธิโก  พ.ศ. ๒๔๓๔

3.พระบุญมา ปาระมี  พ.ศ.2474

๔.พระสิงห์  ปญญาธโร  พ.ศ. ๒๔๙๗

๕.พระก๋องคำ คนธวโร  พ.ศ. ๒๕๑๓

๖.พระหลวงพ่อตา  สีละธโร  พ.ศ. ๒๕๓๕

๗.พระวสันต์ ปญญาวโร  พ.ศ. ๒๕๓๙

๘.พระสมุห์วัลลภ  ปญญาวุฒโธ  พ.ศ. ๒๕๔๒

๙.พระอธิการบุญมา  จนทธมฺโม  พ.ศ. ๒๕๕๓-ปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ ไม่ทราบประวัติ