หน้าหลัก
ข้อมูลทั่วไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
E-Service
สถานที่สำคัญ/ท่องเที่ยว
สินค้าชุมชน
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
โครงสร้างองค์กร
คณะผู้บริหาร
สภาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์และภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาล
เจตจำนงต่อต้านการทุจริตของผู้บริหาร
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
โครงสร้างหน่วยงาน
ประกาศเจตนารมณ์ป้องกันการทุจริต
โครงสร้างส่วนราชการ
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
หน่วยตรวจสอบภายใน
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
พ.ศ. 2556-2557
แผนพัฒนาท้องถิ่น
พ.ศ. 2554-2556
พ.ศ. 2555-2557
พ.ศ.2559-2561
พ.ศ.2560-2562
แผนพัฒนาท้องถิ่น4 ปี 2561-2564
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570)
แผนการดำเนินงาน
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ.2560
พ.ศ.2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
พ.ศ.2564
พ.ศ. 2565
พ.ศ.2566
พ.ศ.2567
รายงานติดตามและประเมินผล
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ.2563
พ.ศ.2564
พ.ศ.2566
พ.ศ. 2567
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ.2560
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
พ.ศ.2563
พ.ศ.2564
พ.ศ.2565
พ.ศ.2566
พ.ศ.2567
เทศบัญญัติทั่วไป
เทศบัญญัติทั่วไป
ประกาศใช้เทศบัญญัติเทศบาลตำบลบ้านกลาง เรื่อง การบริหารกิจการประปา พ.ศ.2559
เทศบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโบบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แผนพัฒนาพนักงานเทศบาล
การคัดเลือกบุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่น
การออกคำสั่งด้านการบริหารงานบุคคล
มาตรการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม
แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
การควบคุมภายใน
การบริหารความเสี่ยง
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง
พ.ศ.2558
พ.ศ.2559
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2567
พ.ศ.2568
รายงานงบการเงิน
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ.2560
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
การใช้จ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
พ.ศ.2563
พ.ศ.2564
พ.ศ.2565
พ.ศ.2566
พ.ศ.2567
พระพุทธบาทยั้งหวีด
...ขณะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์เสด็จมาบิณฑบาตที่บ้าน กองหลวง - กอนน้อย นั้น มีหัวหน้าหมู่บ้านสองคนเป็นพี่น้องกัน ผู้พี่มีชื่อว่า
ขุนอ้ายกอนคำ
ผู้น้องมีชื่อว่า
ขุนอ้ายท่อนคำ
ได้เอาเสื่อมาปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งใต้ต้นมะม่วงต้นหนึ่ง แล้วจึงได้ถวายภัตตาหาร แด่พระพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์ฉันเสร็จแล้ว จึง
ประทานเส้นพระเกศา ๑ เส้น
พร้อมกับได้ตรัสสั่งว่าเมื่อเราตถาคตปรินิพพานแล้ว ท่านทั้งหลายจงเอา
กระดูกซี่โครงเบื้องซ้าย
มาบรรจุไว้กับพระเกศาธาตุที่นี้เถิด
ครั้นพระพุทธองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปไกลประมาณ ๑๔ วา เพื่อ
ทรงถ่ายอุจจาระปัสสาวะใกล้ "ต้นหวีด"
ต้นหนึ่ง อุจจาระอันนั้นก็อันตรธานหายไปสิ้น ไม่เป็นอาหารแก่สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งเลย
ในขณะนั้น ยังมีพญานาคตนหนึ่งชื่อว่า
สะสัญชัยได้บุ(ผุด) ออกมาให้เป็นบ่อน้ำเกิดขึ้น
พร้อมกับเนรมิต
กระบวยทองคำ
เพื่อถวายพระพุทธเจ้าให้ทรงชำระสระสรงพระวรกาย แล้วทูลขอ
รอยพระพุทธบาท
ทั้งคู่ไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่คนและเทวดานาค ครุฑทั้งหลาย
องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงเหยียบรอยพระพุทธบาททั้งซ้ายและขวาประทานให้แก่พญานาคแล้วจึงเสด็จกลับมายังต้นมะม่วงตามเดิม และทรงมีพุทธดำรัสแก่พระอานนท์ว่า
"ดูก่อนอานนท์...ตถาคตมาในสถานที่นี้ ท่านทั้งหลายได้ขอเกศาธาตุไว้ ในที่นี้ภายหน้าจักได้ชื่อว่า "อัมพวนาราม"(ขณะนี้เรียกว่า มะกับตอง ต.ยุหว่า ห่างไกลจากวัดพระบาทยั้งหวัดประมาณ ๓ ก.ม. แต่ในหนังสือประวัติท่านพระแม่ฯ บอกว่าปัจจุบันคือ วัดทุ่งตูม)
อนึ่งตถาคตได้ถ่ายอุจจาระที่ใต้ต้นไม้หวีด" พญานาคสะสัญชัย ได้บุออกมาถวายบ่อน้ำและกระบวยทองคำ เพื่อให้ได้ชำระพระวรกายตถาคต แล้วได้ขอรอยพระพุทธบาททั้งคู่ไว้เป็นที่สักการะบูชา
แต่
เราตถาคตก็ได้เหยียบไว้ใหญ่บ้างเล็กบ้างไม่เท่ากัน เพราะเล็งเห็นภัยในอนาคตกาล
โดยชาวเมืองโกสัมพีทั้งหลาย จักไม่รู้คุณค่าของพระพุทธศาสนาจะมาสร้างบ้านเรือน ทำสวน มีสัตว์เลี้ยง ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ มีแต่เรื่องฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ และไม่รู้จักสถาน ที่อันควรเคารพบูชา จะพากันมาซักเสื้อผ้าและชำระร่างกายที่บ่อน้ำนี้
มิหน้ำซ้ำจะมาทำลายรอยพระบาท ที่ตถาคตได้เหยียบไว้นี่ด้วยมีดและขวาน เพราะเขาเข้าใจว่าเป็นรอยของโยคี ไม่มีความเคารพยำเกรงแม้แต่คนเดียวมีแต่ดูถูกดูหมิ่นประมาทด้วยอาการต่างๆ นาๆ
พวกเขาเหล่านั้นต่อไปภายหน้า จะได้เสวยกรรมวิบาก เพราะโทษที่หมิ่นประมาทรอยพระบาท เขาจักเจ็บไข้ได้ป่วย ฉิบหายวอดวายไปตามๆ กัน
แม้ตถาคตก็มีกรรมวิบากยังไม่สิ้นสุด ถึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ตาม กำลังอกุศลกรรมที่เราได้กระทำไว้ก็ยัง ติดตามสนอง...
พระพุทธองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงนำซึ่งบุพพกรรมของพระองค์เองมาแสดง เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่พุทธบริษัทสืบต่อไปอีกว่า...
...ในสมัยหนึ่ง เมื่อตถาคตได้มาเกิดเป็นบุตรกฎุมพีมีชื่อว่า
"โลลัตตกุมาร"
อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสีวันหนึ่งได้ไปเที่ยวเล่นตามถนนหนทางกับเพื่อนเด็กๆ
โลลัตตกุมารได้เล่นวาดเขียนรูปรอยเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เขียนใหญ่บ้างเล็กบ้าง แหว่งวิ่นบ้าง ไม่เท่ากัน และเขียนไม่มีนิ้วเท้าเป็นต้น
ประหนึ่งบุคคลสวมรองเท้าแล้วจึงไปเหยียบทราย ฉะนั้น เหตที่ไม่ชำนาญศิลปะในการเขียน อุตริเขียนเล่นไปเท่านั้น แล้วได้กล่าว ขึ้นว่า
"รอยเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าของเรางามแท้หนอ...!"
แล้วก็เที่ยวเก็บดอกไม้มาบูชาประนมมือไหว้ เมื่อเล่นๆ ไป ก็เอามีดปลายแหลมที่ตนเองขีดเขียนนั้น ขีดเล่นรอยเท้านั้นให้เป็นรอยมีด แล้วก็ลบรอยเท้าที่ตนเขียนเล่นนั้นด้วยฝ่าเท้าของตนเอง
ด้วยอกุศลวิบากเพียงเท่านี้ เมื่อเราตถาคตเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ฝูงชนเหล่านั้นจักได้มาทำลายรอยพระพุทธบาทอันนี้ เหตุดังนั้นตถาคตมิอาจที่จะห้ามกรรมวิบากอันตถาคตได้กระทำมาแต่ชาติปางก่อนได้
ดูก่อนอานนท์...เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๑๓ พรรษา กับ ๑๐ เดือน ๒๖ วัน ตำนานพระบาทกับพระเกศา ธาตุจักปรากฏแก่คนทั้งหลาย เมื่อถึงพุทธศักราชดังกล่าวแล้วนี้ กรรมวิบากที่ตถาคตได้กระทำไว้ก็จักหมดสิ้นไปโดยไม่มีเศษเหลือ
สถานที่รอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ก็จักปรากฏรุ่งเรือง มีผู้อุปัฏฐากรักษา มีคนมาเลื่อมใสและถวายเครื่องสักการะบูชาเป็นอันมากตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระวรรษาแล...