โครงสร้างองค์กร
  โครงสร้างส่วนราชการ
  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการดำเนินงาน
  รายงานติดตามและประเมินผล
  เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
  เทศบัญญัติทั่วไป
  การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานจัดซื้อจัดจ้าง
  รายงานงบการเงิน

พระพุทธบาทยั้งหวีด



...ขณะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์เสด็จมาบิณฑบาตที่บ้าน กองหลวง - กอนน้อย นั้น มีหัวหน้าหมู่บ้านสองคนเป็นพี่น้องกัน ผู้พี่มีชื่อว่า ขุนอ้ายกอนคำ ผู้น้องมีชื่อว่า ขุนอ้ายท่อนคำ ได้เอาเสื่อมาปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งใต้ต้นมะม่วงต้นหนึ่ง แล้วจึงได้ถวายภัตตาหาร แด่พระพุทธเจ้า

เมื่อพระองค์ฉันเสร็จแล้ว จึง ประทานเส้นพระเกศา ๑ เส้น พร้อมกับได้ตรัสสั่งว่าเมื่อเราตถาคตปรินิพพานแล้ว ท่านทั้งหลายจงเอา กระดูกซี่โครงเบื้องซ้าย มาบรรจุไว้กับพระเกศาธาตุที่นี้เถิด

ครั้นพระพุทธองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปไกลประมาณ ๑๔ วา เพื่อ ทรงถ่ายอุจจาระปัสสาวะใกล้ "ต้นหวีด" ต้นหนึ่ง อุจจาระอันนั้นก็อันตรธานหายไปสิ้น ไม่เป็นอาหารแก่สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งเลย

ในขณะนั้น ยังมีพญานาคตนหนึ่งชื่อว่า สะสัญชัยได้บุ(ผุด) ออกมาให้เป็นบ่อน้ำเกิดขึ้น พร้อมกับเนรมิต กระบวยทองคำ เพื่อถวายพระพุทธเจ้าให้ทรงชำระสระสรงพระวรกาย แล้วทูลขอ รอยพระพุทธบาท ทั้งคู่ไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่คนและเทวดานาค ครุฑทั้งหลาย

องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงเหยียบรอยพระพุทธบาททั้งซ้ายและขวาประทานให้แก่พญานาคแล้วจึงเสด็จกลับมายังต้นมะม่วงตามเดิม และทรงมีพุทธดำรัสแก่พระอานนท์ว่า

"ดูก่อนอานนท์...ตถาคตมาในสถานที่นี้ ท่านทั้งหลายได้ขอเกศาธาตุไว้ ในที่นี้ภายหน้าจักได้ชื่อว่า "อัมพวนาราม"(ขณะนี้เรียกว่า มะกับตอง ต.ยุหว่า ห่างไกลจากวัดพระบาทยั้งหวัดประมาณ ๓ ก.ม. แต่ในหนังสือประวัติท่านพระแม่ฯ บอกว่าปัจจุบันคือ วัดทุ่งตูม)

อนึ่งตถาคตได้ถ่ายอุจจาระที่ใต้ต้นไม้หวีด" พญานาคสะสัญชัย ได้บุออกมาถวายบ่อน้ำและกระบวยทองคำ เพื่อให้ได้ชำระพระวรกายตถาคต แล้วได้ขอรอยพระพุทธบาททั้งคู่ไว้เป็นที่สักการะบูชา

แต่ เราตถาคตก็ได้เหยียบไว้ใหญ่บ้างเล็กบ้างไม่เท่ากัน เพราะเล็งเห็นภัยในอนาคตกาล โดยชาวเมืองโกสัมพีทั้งหลาย จักไม่รู้คุณค่าของพระพุทธศาสนาจะมาสร้างบ้านเรือน ทำสวน มีสัตว์เลี้ยง ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ มีแต่เรื่องฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ และไม่รู้จักสถาน ที่อันควรเคารพบูชา จะพากันมาซักเสื้อผ้าและชำระร่างกายที่บ่อน้ำนี้

มิหน้ำซ้ำจะมาทำลายรอยพระบาท ที่ตถาคตได้เหยียบไว้นี่ด้วยมีดและขวาน เพราะเขาเข้าใจว่าเป็นรอยของโยคี ไม่มีความเคารพยำเกรงแม้แต่คนเดียวมีแต่ดูถูกดูหมิ่นประมาทด้วยอาการต่างๆ นาๆ

พวกเขาเหล่านั้นต่อไปภายหน้า จะได้เสวยกรรมวิบาก เพราะโทษที่หมิ่นประมาทรอยพระบาท เขาจักเจ็บไข้ได้ป่วย ฉิบหายวอดวายไปตามๆ กัน แม้ตถาคตก็มีกรรมวิบากยังไม่สิ้นสุด ถึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ตาม กำลังอกุศลกรรมที่เราได้กระทำไว้ก็ยัง ติดตามสนอง...

พระพุทธองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงนำซึ่งบุพพกรรมของพระองค์เองมาแสดง เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่พุทธบริษัทสืบต่อไปอีกว่า...

...ในสมัยหนึ่ง เมื่อตถาคตได้มาเกิดเป็นบุตรกฎุมพีมีชื่อว่า "โลลัตตกุมาร" อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสีวันหนึ่งได้ไปเที่ยวเล่นตามถนนหนทางกับเพื่อนเด็กๆ โลลัตตกุมารได้เล่นวาดเขียนรูปรอยเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เขียนใหญ่บ้างเล็กบ้าง แหว่งวิ่นบ้าง ไม่เท่ากัน และเขียนไม่มีนิ้วเท้าเป็นต้น

ประหนึ่งบุคคลสวมรองเท้าแล้วจึงไปเหยียบทราย ฉะนั้น เหตที่ไม่ชำนาญศิลปะในการเขียน อุตริเขียนเล่นไปเท่านั้น แล้วได้กล่าว ขึ้นว่า "รอยเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าของเรางามแท้หนอ...!"

แล้วก็เที่ยวเก็บดอกไม้มาบูชาประนมมือไหว้ เมื่อเล่นๆ ไป ก็เอามีดปลายแหลมที่ตนเองขีดเขียนนั้น ขีดเล่นรอยเท้านั้นให้เป็นรอยมีด แล้วก็ลบรอยเท้าที่ตนเขียนเล่นนั้นด้วยฝ่าเท้าของตนเอง

ด้วยอกุศลวิบากเพียงเท่านี้ เมื่อเราตถาคตเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ฝูงชนเหล่านั้นจักได้มาทำลายรอยพระพุทธบาทอันนี้ เหตุดังนั้นตถาคตมิอาจที่จะห้ามกรรมวิบากอันตถาคตได้กระทำมาแต่ชาติปางก่อนได้

ดูก่อนอานนท์...เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๑๓ พรรษา กับ ๑๐ เดือน ๒๖ วัน ตำนานพระบาทกับพระเกศา ธาตุจักปรากฏแก่คนทั้งหลาย เมื่อถึงพุทธศักราชดังกล่าวแล้วนี้ กรรมวิบากที่ตถาคตได้กระทำไว้ก็จักหมดสิ้นไปโดยไม่มีเศษเหลือ

สถานที่รอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ก็จักปรากฏรุ่งเรือง มีผู้อุปัฏฐากรักษา มีคนมาเลื่อมใสและถวายเครื่องสักการะบูชาเป็นอันมากตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระวรรษาแล...